หน้าเว็บ

เป้าหมาย (Understanding Goal) : เพื่อปูพื้นฐานเรียนเศษส่วนและทศนิยมที่มีความสัมพันธ์ที่ซับซ้อนยิ่งขึ้นให้กับผู้เรียน และเพื่อฝึกการพัฒนาสมองของผู้เรียนผ่านกิจกรรมฝึกทักษะและกระบวนการคิดทางคณิตศาสตร์ และนำความรู้ไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้

Main

"คณิตศาสตร์มีบทบาทสำคัญยิ่งต่อการพัฒนาความคิดมนุษย์ ทำให้มนุษย์มีความคิดสร้างสรรค์ คิดอย่างมีเหตุผล เป็นระบบ มีแบบแผน สามารถวิเคราะห์ปัญหาหรือสถานการณ์ได้อย่างถี่ถ้วนรอบคอบ ช่วยให้คาดการณ์ วางแผน ตัดสินใจ แก้ปัญหาได้ และนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างถูกต้องเหมาะสม นอกจากนี้คณิตศาสตร์ยังเป็นเครื่องมือในการศึกษาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและศาสตร์อื่นๆ"

เป้าหมายการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ปีการศึกษา 2559 โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา

- เข้าใจเนื้อหาที่เป็นพื้นฐาน เพื่อเรียนรู้วิชาอื่น เช่น
วิทยาศาสตร์ ดาราศาสตร์ พันธุกรรมศาสตร์ อย่างเช่น ความน่าจะเป็นมาใช้ในการวิเคราะห์ศึกษาพันธุกรรมของเมล็ดถั่ว ในทางชีววิทยาใช้เลขยกกาลังในการกำหนดหน่วยความยาวของดีเอ็นเอ (DNA) อัตราส่วนและยกกาลังไปใช้ในการหาดัชนี มวลกายของคน เพื่อวิเคราะห์และศึกษาภาวการณ์สะสมไขมันตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย การแปรเปลี่ยนของอุณหภูมิ แผนที่ทางอากาศบอกช่วงเวลา

เศรษฐศาสตร์ อย่างเช่น วิธีการอ่านกราฟและฟังก์ชัน การหาดุลยภาพและการเปลี่ยนแปลงดุลยภาพของตลาด เรียนรู้วิธีการตัดสินใจที่เหมาะสมที่สุดของผู้บริโภคและผู้ผลิต

การงานอาชีพ ศิลปะ อย่างเช่น อัตราส่วนการปรุงอาหาร การประกอบอาชีพ การออกแบบ การใช้เทคโนโลยี การสื่อสาร การเขียนโปรแกรมฯ การประมาณขนาดรูปร่างในการวาดภาพ มองโครงสร้างโมเดลจำลองในการสร้างประติมากรรม การเปรียบเทียบขนาดรูปร่างทางเรขาคณิต(พื้นที่ / ปริมาตร)

สังคม ประวัติศาสตร์ อย่างเช่น การบอกเวลา ระยะทาง บอกค่าเงิน(การแปลงค่าเงิน / การซื้อขายแลกเปลี่ยน) การคำนวณปีจากอดีต-ปัจจุบัน(พ.ศ. / ค.ศ.) ลักษณะทางภูมิศาสตร์ การออกแบบภูมิปัญญา(ปัญญาประดิษฐ์) การคำนวณความกว้างของแม่น้ำ การสร้างที่อยู่อาศัย ฤดูกาล

สุขศึกษา พลศึกษา อย่างเช่น การคำนวณค่าดัชนีมวลร่างกาย(BMI) การบอกค่าพลังงานจากสารอาหาร การวัดขนาดร่างกาย (น้ำหนัก / ส่วนสูง) การนับการเต้นของหัวใจ

- พัฒนาทักษะทางคณิตศาสตร์ การแก้ปัญหา การมองเห็นรูปแบบ (Pattern) การสร้างภาพในสมอง การให้เหตุผล การสื่อสาร เชื่อมโยงคณิตศาสตร์กับศาสตร์อื่นๆ และมีความคิดสร้างสรรค์ในการแก้ปัญหาด้วยวิธีที่หลากหลาย

Mind mapping (สาระการเรียนรู้)
- ครู

หน่วย  : คณิตคิดสนุก 1
ภูมิหลัง คณิตศาสตร์ในระดับชั้น ป.ปีนี้ เริ่มต้นในQuarter 1/59 นี้ เป็นการเตรียมความพร้อมของผู้เรียนด้วยเรื่องทบทวนทักษะและกระบวนการคิดทางคณิตศาสตร์ โดยไล่เรียงผ่านเกมการคิด กิจกรรมที่สร้างการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์ โดยใช้สื่อที่หลากหลาย คำถามกระตุ้นเร้าให้ผู้เรียนได้เรียนรู้อย่างเต็มความสามารถ เพื่อที่ครูผู้สอนจะได้ทราบถึงฐานความรู้เดิมของผู้เรียนแต่ละคน (Met before) ซึ่งจำเป็นมา ต่อมาจึงให้พี่ๆ ได้เรียนรู้เกี่ยวกับความสัมพันธ์ของเศษส่วนกับทศนิยม การดำเนินการระหว่างเศษส่วน/ทศนิยมกับจำนวนเต็ม และในหนึ่งสัปดาห์คุณครูจะได้ร่วมทำLesson study ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนในชั้น ป.5 Quarterนี้

เป้าหมายความเข้าใจ  :  เพื่อปูพื้นฐานเรียนเศษส่วนและทศนิยมที่มีความสัมพันธ์ที่ซับซ้อนยิ่งขึ้นให้กับผู้เรียน และเพื่อฝึกการพัฒนาสมองของผู้เรียนผ่านกิจกรรมฝึกทักษะและกระบวนการคิดทางคณิตศาสตร์ และนำความรู้ไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้

ปฏิทินการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์
ระดับชั้น ป.5  Quarter 1 ปีการศึกษา 2559

Week
Input
Process
Output
Outcome







โจทย์
ทักษะและกระบวนการคิดทางคณิตศาสตร์
Key  Questions
นักเรียนมีวิธีการคิดอย่างไร?
- นักเรียนมีความรู้พื้นฐานเรื่องเดิมอะไรบ้าง? ต้องการเรียนรู้เรื่องไหนเพิ่มเติม?
เครื่องมือคิด
- Blackboards share
- Show and Share
- Wall thinking
- ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
นักเรียน/ครู
สื่อและแหล่งเรียนรู้
- แผนกระดาษขนาด 3X3 cm
- แผนโจทย์การคิด
- ครูและนักเรียนทำกิจกรรมสร้างสัมพันธ์ร่วมกัน พาเล่นเกม 24 และเกม 108 IQ
*ก่อนที่ครูและนักเรียนทำความรู้คุ้นเคยซึ่งกันและกัน และพูดคุยสิ่งที่ได้เรียนรู้จากกิจกรรม
- ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด "นักเรียนมีความรู้พื้นฐานเรื่องเดิมอะไรบ้าง? ต้องการเรียนรู้เรื่องไหนเพิ่มเติมบ้าง?"
- ครูนำกระดาษรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส 3X3 cm มาแจกให้นักเรียนทุกคน พาทำกิจกรรมเสริมทักษะการคิดแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ และAAR
- ครูพานักเรียนสร้างสิ่งประดิษฐ์จำลอง
โดยทุกคนได้ออกกแบบประดิษฐ์โมเดลจำลองทางเรขาคณิตฯ เพื่อนำความรู้ประยุกต์ปรับใช้ 
- นำเสนอโมเดลจำลองทางคณิตฯ
  - ครูให้นักเรียนฝึกทำโจทย์การคิด 
- นักเรียนทำใบงานโจทย์ฝึกทักษะการคิดทางคณิตศาสตร์ และทำสรุปองค์ความรู้(ก่อนเรียน)
ภาระงาน
- คิดวิธีการฉีกกระดาษ
สร้างสิ่งประดิษฐ์จำลอง
 - หาวิธีคิดที่แตกต่าง
- ทำสรุปความเข้าใจก่อนเรียนคณิตฯ

ชิ้นงาน
- ใบงาน / โจทย์การคิด
- การฉีกขนาด 3X3 cm
- ชิ้นงานสิ่งประดิษฐ์สร้างสรรค์

- สรุปความเข้าใจ(ก่อนเรียน)

ความรู้
นักเรียนเข้าใจและได้ทบทวนทักษะและกระบวนการคิดทางคณิตศาสตร์ เพื่อนำมาใช้ในการแก้ปัญหาจากกิจกรรม และนักเรียนนำมาความรู้มาปรับใช้ได้จริง

ทักษะ
- ทักษะการแก้ปัญหา
- ทักษะการคิดวิเคราะห์
- ทักษะการให้เหตุผลและมีความคิดสร้างสรรค์
- ทักษะการเห็นแบบรูปที่ซ่อนอยู่
ทักษะการเรียนรู้ร่วมกับผู้อื่น

คุณลักษณะ
- สร้างสรรค์และนำเสนอสิ่งที่ได้จากการเรียนรู้ผ่านการนำเสนอวิธีคิด
 -  มีวินัยและความรับผิดชอบต่อสิ่งที่ได้รับมอบหมาย
- มีความมุ่งมั่นในการทำงาน
- การเคารพและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
มาตรฐาน  6.1 มีความสามารถในการแก้ปัญหา  การให้เหตุผล  การสื่อสาร  การสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์ และการนำเสนอ การเชื่อมโยงความรู้ต่าง ๆ ทางคณิตศาสตร์และเชื่อมโยงคณิตศาสตร์กับศาสตร์อื่น ๆ และมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ : ตัวชี้วัด ป.5/1, ป.5/2, ป.5/3, ป.5/4, ป.5/5, และ ป.5/6
Week
Input
Process
Output
Outcome



2
โจทย์
การจัดการข้อมูลและการนำเสนอข้อมูล
Key Question
นักเรียนรู้จักจำนวนต่างๆ จากแหล่งใดบ้าง? ในชีวิตประจำวัน
เครื่องมือคิด
- Blackboards share
- Brainstorm
- Show and Share
- Wall thinking
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
นักเรียน/ครู
สื่อและแหล่งเรียนรู้
ข คลิป Magic of mathematics
- ราคา ป้ายทะเบียน หลักกิโลเมตร เบอร์เสื้อ ช่องทีวี ฯลฯ
- แผ่นกระดาษชาร์ต
- ครูให้นักเรียนชมคลิป Magic of mathematics เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับตัวเลข และครูกับนักเรียนร่วมแลกเปลี่ยนความเข้าใจจากคลิป
- ครูให้นักเรียนสังเกตสื่อใกล้ตัวการแสดงของจำนวนในที่ต่างๆ เช่น ราคา ป้ายทะเบียนบ้าน หลักกิโลเมตร เบอร์เสื้อ ช่องทีวี นาฬิกา ฯลฯ
- ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด "นักเรียนรู้จักจำนวนต่างๆ จากแหล่งใดบ้าง? ในชีวิตประจำวัน
- ร่วมแสดงความคิดเห็นแลกเปลี่ยนความเข้าใจ
- ครูให้นักเรียนดูPower point สัตว์เลือกตั้ง ก่อนที่ครูกับนักเรียนAAR ขมวดความเข้าใจ
- ครูพานักเรียนจำแนกและจัดหมวดหมู่ชนิดของจำนวนตามมาตรการวัด (Nominal Scale, Ordinal Scales, Interval Scale, Ratio Scale)
- ครูให้นักเรียนเขียนบันทึกความเข้าใจของหน้าที่ของตัวเลข และให้ทำลงใบงานที่ครูนำมาให้แต่ละกลุ่ม(ใบงานแตกต่าง)
- นำเสนอข้อมูลตามความเข้าใจของนักเรียนแต่ละกลุ่ม
 เพื่อสรุปความเข้าใจ และให้ความเข้าใจสู่ผู้อื่น
*Flip classroom นักเรียนไปสืบค้น / สอบถามผู้ปกครองจากหน้าที่ของตัวเลข (เพิ่มเติม) และรับโจทย์การบ้านจากครู
ภาระงาน
- นักเรียนช่วยกันคิดหาหน้าที่ของตัวเลข
- นักเรียนชมคลิป Magic of mathematics
 - นักเรียนแลกเปลี่ยนความเข้าใจจากสัตว์เลือกตั้ง
- นำเสนอความเข้าใจเกี่ยวกับหน้าที่ของตัวเลข
- เขียนสรุปความเข้าใจตัวเลข

ชิ้นงาน
- บันทึกความเข้าใจใส่ในสมุด
- ใบงานเกี่ยวกับการจำแนกและจัดหมวดหมู่ชนิดของจำนวนตามมาตรการวัด
- สร้างสรรค์ชิ้นงานหน้าที่ของตัวเลข

ความรู้
มีความเข้าใจเกี่ยวพื้นฐานของจำนวนประเภทต่างๆ ตามมาตรการวัด (Nominal Scale, Ordinal Scales, Interval Scale, Ratio Scale) และสามารถปรับประยุกต์ใช้ความรู้กับชีวิตประจำวันได้
ทักษะ
- ทักษะการแก้ปัญหา
- ทักษะการคิด(วิเคราะห์/สร้างสรรค์)
- ทักษะการให้เหตุผล
- ทักษะการเห็นแบบรูป
- ทักษะการสื่อสาร
- ทักษะการเรียนรู้ร่วมกับผู้อื่น
- ทักษะICT
คุณลักษณะ
-  สร้างสรรค์และนำเสนอสิ่งที่ได้เรียนรู้
 -  มีวินัยและความรับผิดชอบ
- มีความมุ่งมั่นในการทำงาน
- การเคารพและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
มาตรฐาน  1.1  เข้าใจถึงความหลากหลายของการแสดงจำนวนและการใช้จำนวนในชีวิตจริง : ตัวชี้วัด ป.5/1, ป.5/2
มาตรฐาน  1.2  เข้าใจอธิบายผลที่เกิดจากการบวก  การลบ  การคูณ  การหาร  การยกกำลัง  และการหารากของจำนวนเต็มและจำนวนตรรกยะ  พร้อมทั้งบอกความสัมพันธ์ของการดำเนินการของจำนวนต่างๆได้ : ตัวชี้วัด ป.5/1, ป.5/2, และ ป.5/3
มาตรฐาน  6.1 มีความสามารถในการแก้ปัญหา  การให้เหตุผล  การสื่อสาร  การสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์ และการนำเสนอ การเชื่อมโยงความรู้ต่าง ๆ ทางคณิตศาสตร์และเชื่อมโยงคณิตศาสตร์กับศาสตร์อื่น ๆ และมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ : ตัวชี้วัด ป.5/1, ป.5/2, ป.5/3, ป.5/4, ป.5/5, และ ป.5/6
Week
Input
Process
Output
Outcome




3
โจทย์
จำนวนและการดำเนินการ1 (เศษส่วน) - การวาดภาพแทนเศษส่วน
Key  Questions ถ้า..ให้นักเรียนจะแบ่งผักหรือผลไม้ให้เป็น   6,8,12 ส่วน ส่วนละเท่าๆ กัน จะทำอย่างไร? นักเรียนจะออกแบบชิ้นงานอย่างไร? เพื่อถ่ายทอดความใจจากกิจกรรม
เครื่องมือคิด
- Blackboards share
- Brainstorm
- Flow chart
- Show and Share
- Wall thinking
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
นักเรียน/ครู
สื่อและแหล่งเรียนรู้
- ผักหรือผลไม้
- มีด / ถาด
- ครูเล่านิทาน "พิชช่า" มหัศจรรย์ เกี่ยวกับการแบ่ง ให้ได้พิชช่าขนาดเท่าๆกัน และครูกับนักเรียนร่วมแลกเปลี่ยนความเข้าใจจากนิทาน
ครูกระตุ้นการเรียนรู้ด้วยสื่อจริงใกล้ตัว เช่น ผักหรือผลไม้ เพื่อสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับการแบ่งเป็นส่วน ส่วนละเท่าๆ กัน จากการตัดแบ่งจริง จากคำถาม ต่อไปนี้  
- นักเรียนจะแบ่งผักหรือผลไม้ให้เป็น 4 ส่วน ส่วนละเท่าๆ กัน พี่ๆจะทำอย่างไร? / เพราะเหตุใด?
 - แล้วถ้า..ให้นักเรียนจะแบ่งผักหรือผลไม้ให้เป็น 6,8,12 ส่วน ส่วนละเท่าๆ กัน จะทำอย่างไร? 
- ครูและนักเรียนร่วมแลกเปลี่ยนความเข้าใจจากกิจกรรมActive Learning 
- นักเรียนออกแบบโมลเดลจำลองก่อนทำการทดลอง
- ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด นักเรียนจะออกแบบชิ้นงานอย่างไร? เพื่อถ่ายทอดความใจจากกิจกรรม
- ครูและนักเรียนร่วมแลกเปลี่ยนความเข้าใจ และคุณครูร่วมจัดระบบข้อมูล เพื่อให้นักเรียนทุกคนเข้าใจตรงกันก่อนสร้างชิ้นงาน
- นักเรียนสร้างโจทย์ใหม่ขึ้นมา และออกแบบโจทย์ใหม่ที่สร้างสรรค์ขึ้นมาเอง
*Flip classroom ครูให้นักเรียนไปศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับพื้นฐานของเศษส่วน โจทย์ที่เหมาะสมตามศักยภาพของเด็กแต่ละคน
ภาระงาน
- ครูเล่านิทานพิชช่า และร่วมแลกเปลี่ยนAAR
- ร่วมกันทำกิจกรรมแบ่งพืช / ผัก เพื่อให้เป็นส่วน ส่วนละเท่าๆกัน
- นักเรียนทำสรุปความเข้าใจผ่านชิ้นงานหลากหลาย

ชิ้นงาน
- สมุดบันทึกความเข้าใจจากการเรียนรู้
- สร้างสรรค์ชิ้นงานวาดภาพแทนค่าของเศษส่วน
- ใบงาน (การวาดภาพแทนเศษส่วน)
ความรู้
เข้าใจการแทนค่าของเศษส่วน การจำลองภาพวาดแทนความหมายของเศษส่วนแต่ละค่า และสามารถประยุกต์ใช้ความรู้แก้ปัญหาในสถานการณ์ต่างๆ ได้

ทักษะ
- ทักษะการแก้ปัญหา
- ทักษะการสร้างโมเดลจำลอง
- ทักษะการคิด(วิเคราะห์/สร้างสรรค์)
- ทักษะการให้เหตุผล
- ทักษะการเห็นแบบรูป
- ทักษะการสื่อสาร
- ทักษะการเรียนรู้ร่วมกับผู้อื่น

คุณลักษณะ
-  สร้างสรรค์และนำเสนอสิ่งที่ได้เรียนรู้
- มีเจตคติที่ดีต่อการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์
 -  มีวินัยและความรับผิดชอบ
-   มีความกระตือรือร้น มุ่งมั่นในการทำงาน 
- การเคารพและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
มาตรฐาน  1.1  เข้าใจถึงความหลากหลายของการแสดงจำนวนและการใช้จำนวนในชีวิตจริง : ตัวชี้วัด ป.5/1, ป.5/2
มาตรฐาน  1.2  เข้าใจอธิบายผลที่เกิดจากการบวก  การลบ  การคูณ  การหาร  การยกกำลัง  และการหารากของจำนวนเต็มและจำนวนตรรกยะ  พร้อมทั้งบอกความสัมพันธ์ของการดำเนินการของจำนวนต่างๆได้ : ตัวชี้วัด ป.5/1, ป.5/2, และ ป.5/3
มาตรฐาน  6.1 มีความสามารถในการแก้ปัญหา  การให้เหตุผล  การสื่อสาร  การสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์ และการนำเสนอ การเชื่อมโยงความรู้ต่าง ๆ ทางคณิตศาสตร์และเชื่อมโยงคณิตศาสตร์กับศาสตร์อื่น ๆ และมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ : ตัวชี้วัด ป.5/1, ป.5/2, ป.5/3, ป.5/4, ป.5/5, และ ป.5/6
Week
Input
Process
Output
Outcome



4
โจทย์
จำนวนและการดำเนินการ2 (เศษส่วน) - การบวกและการลบเศษส่วน(ส่วนเท่ากัน)
Key  Question
นักเรียนคิดว่า“ถ้ามีอยู่ 3/4 เพิ่มขึ้นอีก 1/4 พี่ๆ คิดว่าค่าของเศษส่วนรวมกันได้เท่าไร? / พี่ๆ มีวิธีคิดคิดอย่างไรบ้าง?” และถ้าหาก มีอยู่ 3/4 ตัดออก 1/4 ค่าของเศษส่วนจะเหลืออยู่เท่าไร? / คิดอย่างไรบ้าง?อย่างไร?
เครื่องมือคิด
- Blackboards share
- Brainstorms
- Show and Share
- Wall thinking
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
นักเรียน/ครู
สื่อและแหล่งเรียนรู้
- ชุดแท่งเศษส่วน
- power point เศษส่วน
- ครูพานักเรียนเล่นเกมปริศนา (ความสูง/ต่ำ ของระดับน้ำ) และใช้โจทย์กระตุ้นการคิดให้นักเรียนฝึกทำ ร่วมกันแลกเปลี่ยนความเข้าใจพื้นฐานของเศษส่วน
- ครูแนะนำสื่อชุดแทงเศษส่วน ให้นักเรียน พานักเรียน
เปรียบเทียบ
เรียงลำดับ
*ครูให้นักเรียนร่วมแสดงบทบาทสมมติหรือสถานการณ์จากค่าของเศษส่วนที่คุณครูกำหนดให้พี่ๆ แต่ละกลุ่ม

_ก่อนที่ครูกับนักเรียนร่วมแลกเปลี่ยนความเข้าใจ ก่อนนำสู่โจทย์กระตุ้นการคิด (เพิ่มพื้นฐานให้เด็กๆ ทุกคนเข้าใจตรงกัน)
ครูใช้โจทย์กระตุ้นการคิด “ถ้ามีอยู่ 3/4 เพิ่มขึ้นอีก 1/4 พี่ๆ คิดว่าค่าของเศษส่วนรวมกันได้เท่าไร? / พี่ๆ มีวิธีคิดคิดอย่างไรบ้าง?และถ้าหาก มีอยู่ 3/4 ตัดออก 1/4 ค่าของเศษส่วนจะเหลืออยู่เท่าไร? / คิดอย่างไรบ้าง?  
- ครูและนักเรียนร่วมแลกเปลี่ยนความเข้าใจจากกิจกรรมการ "เพิ่มขึ้น" หรือ "หักออก" (โดยการวาดภาพแทนเศษส่วน)
- นักเรียนทำใบงานและร่วมกันสร้างโจทย์การดำเนินการเศษส่วน
*Flip classroom ครูให้การบ้านการบวกและการลบเศษส่วน(ส่วนเท่ากัน)
ภาระงาน
เล่นเกมปริศนา (ความสูง/ต่ำ ของระดับน้ำ)
ร่วมแสดงบทบาทสมมติหรือสถานการณ์จากค่าของเศษส่วน
- นักเรียนทำใบงานและร่วมกันสร้างโจทย์การดำเนินการเศษส่วน
ชิ้นงาน
ใบงาน / สร้างโจทย์การดำเนินการเศษส่วน
- สมุดเขียนถ่ายทอดความเข้าใจเศษส่วน
ความรู้
มีความเข้าใจการดำเนินการ(บวก/ลบ) เศษส่วน ในกรณีที่ส่วนเท่ากัน และสามารถประยุกต์ใช้สร้างสรรค์โจทย์ที่ซับซ้อนยิ่งขึ้นมาเองได้
ทักษะ
- ทักษะการแก้ปัญหา
- ทักษะการสร้างโมเดลจำลอง
- ทักษะการคิด(วิเคราะห์/สร้างสรรค์)
- ทักษะการให้เหตุผล
- ทักษะการเห็นแบบรูป
- ทักษะการสื่อสาร
- ทักษะการเรียนรู้ร่วมกับผู้อื่น
คุณลักษณะ
-  มีความคิดสร้างสรรค์และนำเสนอสิ่งที่ได้เรียนรู้ด้วยวิธีการที่น่าสนใจ
 - รู้เคารพ มีวินัยและความรับผิดชอบ
- มีความมุ่งมั่นในการทำงาน
- การเคารพและยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
มาตรฐาน  1.1  เข้าใจถึงความหลากหลายของการแสดงจำนวนและการใช้จำนวนในชีวิตจริง : ตัวชี้วัด ป.5/1, ป.5/2
มาตรฐาน  1.2  เข้าใจอธิบายผลที่เกิดจากการบวก  การลบ  การคูณ  การหาร  การยกกำลัง  และการหารากของจำนวนเต็มและจำนวนตรรกยะ  พร้อมทั้งบอกความสัมพันธ์ของการดำเนินการของจำนวนต่างๆได้ : ตัวชี้วัด ป.5/1, ป.5/2, และ ป.5/3
มาตรฐาน  6.1 มีความสามารถในการแก้ปัญหา  การให้เหตุผล  การสื่อสาร  การสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์ และการนำเสนอ การเชื่อมโยงความรู้ต่าง ๆ ทางคณิตศาสตร์และเชื่อมโยงคณิตศาสตร์กับศาสตร์อื่น ๆ และมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ : ตัวชี้วัด ป.5/1, ป.5/2, ป.5/3, ป.5/4, ป.5/5, และ ป.5/6
...........................................
Week
Input
Process
Output
Outcome



5
โจทย์
จำนวนและการดำเนินการ3 (เศษส่วน)
 - การบวกและการลบเศษส่วน(ส่วนเท่ากัน)
- การคูณเศษส่วน
Key Questions
- นักเรียนคิดว่า  “ถ้าเพิ่มขึ้นทีละ 2/6 จำนวนสองครั้งจะมีค่าของเศษส่วนเป็นเท่าไร? / พี่ๆมีวิธีคิดอย่างไร?” และ “ถ่ามีอยู่ 4/6 แบ่งออกเป็นสองกลุ่ม กลุ่มละเท่าๆกันจะได้กี่กลุ่ม? / กลุ่มละเท่าไร? / คิดอย่างไร?
- นักเรียนคิดว่า  "สีเหลืองเป็นกี่เท่าของสีเขียว ,สีฟ้าเป็นกี่เท่าของสีฟ้า คิดอย่างไร?/เพราะเหตุใด?" และคำถามย้อนกลับ "สีเขียวเป็นกี่เท่าของสีเหลือ?สีเหลือเป็นกี่เท่าของสีฟ้า?"
เครื่องมือคิด
- Blackboards share
- Brainstorm
- Flow chart
- Show and Share
- Wall thinking
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
นักเรียน/ครู
สื่อและแหล่งเรียนรู้
- แผ่นกระดาษ (มายากล)
- ลูกเต๋าสามสี
- ชุดแท่งเศษส่วน
- ครูให้นักเรียนกิจกรรมทดลอง ความยาว/ความกว้างของแผ่นกระดาษ (มายากล) และร่วมกันแลกเปลี่ยนความเข้าใจ
*ครูเตรียมความพร้อมผู้เรียน จากการทบทวนสื่อชุดแท่งเศษส่วน
- ครูกระตุ้นด้วยโจทย์ “ถ้าเพิ่มขึ้นทีละ 2/6 จำนวนสองครั้งจะมีค่าของเศษส่วนเป็นเท่าไร? / พี่ๆมีวิธีคิดอย่างไร?และ “ถ่ามีอยู่ 4/6 แบ่งออกเป็นสองกลุ่ม กลุ่มละเท่าๆกันจะได้กี่กลุ่ม? / กลุ่มละเท่าไร? / คิดอย่างไร?
- ครูและนักเรียนร่วมแลกเปลี่ยนเข้าใจจากการดำเนินการเศษส่วน
*ครูแนะนำสื่อลูกเต๋าแสนกล ด้านของลูกเต๋า / แต้มลูกเต๋า
- ครูนำลูกเต๋าสามสี ประกอบไปด้วย 
สีเขียว 2 ลูก สีเหลือง 4 ลูก และสีฟ้า 8 
จากนั้นกระตุ้นด้วยคำถาม เช่น "สีเหลืองเป็นกี่เท่าของสีเขียว ,สีฟ้าเป็นกี่เท่าของสีฟ้า คิดอย่างไร?/เพราะเหตุใด?" และคำถามย้อนกลับ "สีเขียวเป็นกี่เท่าของสีเหลือ?สีเหลือเป็นกี่เท่าของสีฟ้า?"

ครูและนักเรียนร่วมแลกเปลี่ยนเข้าใจจากการดำเนินการเศษส่วน 
- นักเรียนสร้างโจทย์ใหม่การดำเนินการของเศษส่วน
*Flip classroom ครูให้การบ้าน
 - การบวกและการลบเศษส่วน(ส่วนเท่ากัน)
- การคูณเศษส่วน
ภาระงาน
- นักเรียนร่วมทำกิจกรรมทดลอง ความยาว/ความกว้างของแผ่นกระดาษ (มายากล)
ร่วมกันแลกเปลี่ยนความเข้าใจลูกเต๋าสามสี
 - นักเรียนสร้างโจทย์ใหม่การดำเนินการของเศษส่วน
ชิ้นงาน
- สร้างสรรค์ชิ้นงานผ่านรูปแบบหลากหลาย
- เขียนสรุปความเข้าใจลงในสมุด
- ใบงานการดำเนินการเศษส่วน
ความรู้
- มีความเข้าใจการดำเนินการ(บวก/ลบ) เศษส่วน ในกรณีที่ส่วนเท่ากัน และสามารถประยุกต์ใช้สร้างสรรค์โจทย์ที่ซับซ้อนยิ่งขึ้นมาเองได้
- นักเรียนสามารถประยุกต์การคุณเศษส่วน จากลำดับที่เพิ่มขึ้นที่ละเท่าๆ กันได้
ทักษะ
- ทักษะการแก้ปัญหา
- ทักษะการคิด(วิเคราะห์/สร้างสรรค์)
- ทักษะการให้เหตุผล
- ทักษะการเห็นแบบรูป
- ทักษะการสื่อสาร
- ทักษะการเรียนรู้ร่วมกับผู้อื่น
คุณลักษณะ
- มีเจตคติที่ดีต่อการเรียนรู้คณิตศาสตร์
-  มีความคิดสร้างสรรค์และนำเสนอสิ่งที่ได้เรียนรู้ ด้วยกลวิธีที่หลากหลาย
- มีความกระตือรือร้น มุ่งมั่นในการทำงาน
 - รู้เคารพ มีวินัยและมีความรับผิดชอบ
- การเคารพและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
มาตรฐาน  1.1  เข้าใจถึงความหลากหลายของการแสดงจำนวนและการใช้จำนวนในชีวิตจริง : ตัวชี้วัด ป.5/1, ป.5/2
มาตรฐาน  1.2  เข้าใจอธิบายผลที่เกิดจากการบวก  การลบ  การคูณ  การหาร  การยกกำลัง  และการหารากของจำนวนเต็มและจำนวนตรรกยะ  พร้อมทั้งบอกความสัมพันธ์ของการดำเนินการของจำนวนต่างๆได้ : ตัวชี้วัด ป.5/1, ป.5/2, และ ป.5/3
มาตรฐาน  6.1 มีความสามารถในการแก้ปัญหา  การให้เหตุผล  การสื่อสาร  การสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์ และการนำเสนอ การเชื่อมโยงความรู้ต่าง ๆ ทางคณิตศาสตร์และเชื่อมโยงคณิตศาสตร์กับศาสตร์อื่น ๆ และมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ : ตัวชี้วัด ป.5/1, ป.5/2, ป.5/3, ป.5/4, ป.5/5, และ ป.5/6
Week
Input
Process
Output
Outcome
 



6
โจทย์
จำนวนและการดำเนินการ4 (เศษส่วน)
 - การบวกเศษส่วน(ส่วนไม่เท่ากัน)
Key  Question
- นักเรียนคิดว่า “ถ้ามีอยู่เศษ ส่วน 4  เพิ่มขึ้นอีก เศษ ส่วน 6 จะรวมกันเป็นเท่าไร? / ให้นักเรียนวาดภาพแสดงวิธีคิดได้ภาพเป็นอย่างไร?
เครื่องมือคิด
- Blackboards share
- Brainstorm
- Show and Share
- Wall thinking
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
นักเรียน/ครู
สื่อและแหล่งเรียนรู้
- ชุดแท่งเศษส่วน
- แผ่นชาร์ตเศษส่วน
- ครูกระตุ้นด้วยโจทย์ปัญหาฝึกทักษะการคิดทางคณิตศาสตร์
*ครูและนักเรียนร่วมกันแลกเปลี่ยนความเข้าใจ ก่อนที่ครูจะรีเช็คความเข้าใจผู้เรียน จากกิจกรรมการเรียนรู้สัปดาห์ผ่านมา
ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “ถ้ามีอยู่เศษ 3 ส่วน เพิ่มขึ้นอีก เศษ 1 ส่วน 6 จะรวมกันเป็นเท่าไร? / ให้นักเรียนวาดภาพแสดงวิธีคิดได้ภาพเป็นอย่างไร?
- นักเรียนนำเสนอชิ้นงานความเข้าใจ พร้อมครูใช้คำถามแลกเปลี่ยนตรวจสอบเข้าใจของผู้เรียน
- นักเรียนทำโจทย์ข้อใหม่ที่หลากหลายลงในแบบฝึกวาดภาพ และแลกเปลี่ยนวิธีคิดโจทย์ของตนเองกับโจทย์ของเพื่อนๆ
*Flip classroom ครูให้การบ้าน  
 การบวกเศษส่วน(ส่วนไม่เท่ากัน)
ภาระงาน
- ทบทวนกิจกรรมเกมการคิด(โจทย์ปัญหาฝึกทักษะการคิดทางคณิตศาสตร์)
- ร่วมกันแสดงความคิดเห็น/วิธีคิด การดำเนินการทางเศษส่วน
- นักเรียนทำสรุปความเข้าใจผ่านชิ้นงานหลากหลาย

ชิ้นงาน
- สมุดบันทึกการเรียนรู้ตลอดสัปดาห์
- สร้างสรรค์การวาดภาพแทนเศษส่วน
- ใบงานภาพวาดเศษส่วน
ความรู้
มีความเข้าใจการดำเนินการ(บวก/ลบ) เศษส่วน ในกรณีที่ส่วนไม่เท่ากัน และสามารถประยุกต์ใช้สร้างสรรค์โจทย์ที่ซับซ้อนยิ่งขึ้นมาเองได้ และปรับใช้กับชีวิตประจำวันได้

ทักษะ
- ทักษะการแก้ปัญหา
- ทักษะการคิด(วิเคราะห์/สร้างสรรค์)
- ทักษะการให้เหตุผล
- ทักษะการสร้างภาพในสมอง
- ทักษะการสื่อสาร
- ทักษะการเรียนรู้ร่วมกับผู้อื่น

คุณลักษณะ
-  มีความคิดสร้างสรรค์และนำเสนอสิ่งที่ได้เรียนรู้ ด้วยกลวิธีที่หลากหลาย
- มีความกระตือรือร้น มุ่งมั่นในการทำงาน มีความอดทน
 - รู้เคารพ มีวินัยและมีความรับผิดชอบ
- การเคารพและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
มาตรฐาน  1.1  เข้าใจถึงความหลากหลายของการแสดงจำนวนและการใช้จำนวนในชีวิตจริง : ตัวชี้วัด ป.5/1, ป.5/2
มาตรฐาน  1.2  เข้าใจอธิบายผลที่เกิดจากการบวก  การลบ  การคูณ  การหาร  การยกกำลัง  และการหารากของจำนวนเต็มและจำนวนตรรกยะ  พร้อมทั้งบอกความสัมพันธ์ของการดำเนินการของจำนวนต่างๆได้ : ตัวชี้วัด ป.5/1, ป.5/2, และ ป.5/3
มาตรฐาน  6.1 มีความสามารถในการแก้ปัญหา  การให้เหตุผล  การสื่อสาร  การสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์ และการนำเสนอ การเชื่อมโยงความรู้ต่าง ๆ ทางคณิตศาสตร์และเชื่อมโยงคณิตศาสตร์กับศาสตร์อื่น ๆ และมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ : ตัวชี้วัด ป.5/1, ป.5/2, ป.5/3, ป.5/4, ป.5/5, และ ป.5/6
Week
Input
Process
Output
Outcome



7
โจทย์
จำนวนและการดำเนินการ5 (เศษส่วน)
 -
การลบเศษส่วน(ส่วนไม่เท่ากัน)Key  Question
นักเรียนคิดว่า “ถ้ามีอยู่เศษ ส่วน 4  ตัดออกไป เศษ ส่วน 6 พี่ๆคิดว่าจะเหลือเท่าไร? / พร้อมให้วาดภาพแสดงวิธีคิด
เครื่องมือคิด
- Blackboards share
- Show and Share
- Wall thinking
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
นักเรียน/ครู
สื่อและแหล่งเรียนรู้
- ชุดแท่งเศษส่วน
- power point เศษส่วน
- ครูให้นักเรียนเล่นเกมฝึกการคิดผ่านPower point และร่วมกันแลกเปลี่ยนความเข้าใจ

*ครูและนักเรียนร่วมกันแลกเปลี่ยนความเข้าใจ ก่อนที่ครูจะรีเช็คความเข้าใจผู้เรียน จากกิจกรรมการเรียนรู้สัปดาห์ผ่านมา
ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “ถ้ามีอยู่เศษ 3 ส่วน ตัดออกไป เศษ 1 ส่วน 6 พี่ๆคิดว่าจะเหลือเท่าไร? / พร้อมให้วาดภาพแสดงวิธีคิด
- นักเรียนสืบค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อนำมาทำชาร์ตความรู้ความเข้าใจเศษส่วน พร้อมนำเสนอ
- นักเรียนนำเสนอชิ้นงานความเข้าใจ พร้อมครูใช้คำถามแลกเปลี่ยนตรวจสอบเข้าใจของผู้เรียน
*Flip classroom ครูให้การบ้าน  
 การบวกเศษส่วน(ส่วนไม่เท่ากัน)
ภาระงาน
- ทบทวนกิจกรรม / เล่นเกมการคิด
- นักเรียนช่วยกันคิดการลบเศษส่วน
- นักเรียนทำชาร์ตความรู้เกี่ยวกับเศษส่วน

ชิ้นงาน
- ชาร์ตความรู้เศษส่วน
- สมุดจดบันทึกความเข้าใจตลอดการเรียนรู้
- ใบงานเกี่ยวกับโจทย์การบวกและการลบเศษส่วน(ส่วนเท่ากัน)
ความรู้
มีความเข้าใจการดำเนินการลบเศษส่วน ในกรณีที่ส่วนไม่เท่ากัน และสามารถประยุกต์ใช้สร้างสรรค์โจทย์ที่ซับซ้อนยิ่งขึ้นมาเองได้

ทักษะ
- ทักษะการแก้ปัญหา
- ทักษะการสร้างโมเดลจำลอง
- ทักษะการคิด(วิเคราะห์/สร้างสรรค์)
- ทักษะการให้เหตุผล
- ทักษะการเห็นแบบรูป
- ทักษะการสื่อสาร
- ทักษะICT
- ทักษะการเรียนรู้ร่วมกับผู้อื่น

คุณลักษณะ
- มีเจตคติที่ดีต่อการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์
-  มีความคิดสร้างสรรค์และนำเสนอสิ่งที่ได้เรียนรู้ด้วยวิธีการที่น่าสนใจ
 - รู้เคารพ มีวินัยและความรับผิดชอบ
- มีความมุ่งมั่นในการทำงาน
- การเคารพและยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
มาตรฐาน  1.1  เข้าใจถึงความหลากหลายของการแสดงจำนวนและการใช้จำนวนในชีวิตจริง : ตัวชี้วัด ป.5/1, ป.5/2
มาตรฐาน  1.2  เข้าใจอธิบายผลที่เกิดจากการบวก  การลบ  การคูณ  การหาร  การยกกำลัง  และการหารากของจำนวนเต็มและจำนวนตรรกยะ  พร้อมทั้งบอกความสัมพันธ์ของการดำเนินการของจำนวนต่างๆได้ : ตัวชี้วัด ป.5/1, ป.5/2, และ ป.5/3
มาตรฐาน  6.1 มีความสามารถในการแก้ปัญหา  การให้เหตุผล  การสื่อสาร  การสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์ และการนำเสนอ การเชื่อมโยงความรู้ต่าง ๆ ทางคณิตศาสตร์และเชื่อมโยงคณิตศาสตร์กับศาสตร์อื่น ๆ และมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ : ตัวชี้วัด ป.5/1, ป.5/2, ป.5/3, ป.5/4, ป.5/5, และ ป.5/6
........................................
Week
Input
Process
Output
Outcome



8
โจทย์
จำนวนและการดำเนินการ6 (เศษส่วน)
- การคูณเศษส่วนด้วยจำนวนเต็ม
- การคูณเศษส่วนด้วยเศษส่วน

Key  Questions
ครูกระตุ้นด้วยโจทย์ “ถ้าเพิ่มขึ้นทีละ1/7 จำนวน ครั้ง พี่ๆคิดว่าจะมีค่าเป็นเท่าไร? /พี่ๆมีวิธีคิดอย่างไร?”

เครื่องมือคิด
- Blackboards share
- Brainstorm
- Flow chart
- Show and Share
- Wall thinking
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
นักเรียน/ครู
สื่อและแหล่งเรียนรู้
- ชุดแท่งเศษส่วน
- power point เศษส่วน
- ครูให้นักเรียนดูคลิปการ์ตูนภาษาอังกฤษ (เกี่ยวกับค่าของเศษส่วนกับชีวิตประจำวัน)
และร่วมแลกเปลี่ยนความเข้าใจ 

*ครูและนักเรียนร่วมกันแลกเปลี่ยนความเข้าใจ ก่อนที่ครูจะรีเช็คความเข้าใจผู้เรียน จากกิจกรรมการเรียนรู้สัปดาห์ผ่านมา
ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “ถ้าเพิ่มขึ้นทีละ1/7 จำนวน 4 ครั้ง พี่ๆคิดว่าจะมีค่าเป็นเท่าไร? /พี่ๆมีวิธีคิดอย่างไร?”
- นักเรียนนำเสนอความเข้าใจ พร้อมครูใช้คำถามแลกเปลี่ยนตรวจสอบเข้าใจของผู้เรียน
- ครูกระตุ้นด้วยโจทย์
- นักเรียนนำเสนอความเข้าใจ พร้อมครูใช้คำถามแลกเปลี่ยนตรวจสอบเข้าใจของผู้เรียน
- นักเรียนนำเสนอชิ้นงานความเข้าใจ พร้อมครูใช้คำถามแลกเปลี่ยนตรวจสอบเข้าใจของผู้เรียน
นักเรียนทำโจทย์ข้อใหม่ที่หลากหลายลงในแบบฝึกวาดภาพ และแลกเปลี่ยนวิธีคิดโจทย์ของตนเองกับโจทย์ของเพื่อนๆ
*Flip classroom ครูให้เด็กๆ แต่ละคนไปแต่งนิทางเป็นภาษาอังกฤษ(อย่างง่าย) พร้อมกับหาคำศัพท์ทางคณิตฯ คนละ 10 คำ
ภาระงาน
- ทบทวนกิจกรรม
นักเรียนดูคลิปการ์ตูนภาษาอังกฤษ (เกี่ยวกับค่าของเศษส่วนกับชีวิตประจำวัน)
- นักเรียนช่วยกันคิดการคูณเศษส่วน
- นักเรียนใบงานความเข้าใจการคูณเศษส่วน

ชิ้นงาน
- สมุดบันทึกความเข้าใจตลอดการเรียนรายสัปดาห์
- ใบงานเกี่ยวกับโจทย์การบวกและการลบเศษส่วน (ส่วนเท่ากัน)
ความรู้
มีความเข้าใจการดำเนินการคูณเศษส่วน ในกรณีที่คูณกับจำนวนเต็มหรือเศษส่วน และสามารถประยุกต์ใช้สร้างสรรค์โจทย์ที่ซับซ้อนยิ่งขึ้นมาเองได้

ทักษะ
- ทักษะการแก้ปัญหา
- ทักษะการสร้างโมเดลจำลอง
- ทักษะการคิด(วิเคราะห์/สร้างสรรค์)
- ทักษะการให้เหตุผล
- ทักษะICT
- ทักษะการเห็นแบบรูป
- ทักษะการสื่อสาร
- ทักษะการเรียนรู้ร่วมกับผู้อื่น

คุณลักษณะ
-  มีความคิดสร้างสรรค์และนำเสนอสิ่งที่ได้เรียนรู้ด้วยวิธีการที่น่าสนใจ
 - รู้เคารพ มีวินัยและความรับผิดชอบ
- มีความมุ่งมั่นในการทำงาน
- การเคารพและยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
- ผู้เรียนมีเจตคติที่ดีต่อการเรียนรู้รายวิชาคณิตศาสตร์
มาตรฐาน  1.1  เข้าใจถึงความหลากหลายของการแสดงจำนวนและการใช้จำนวนในชีวิตจริง : ตัวชี้วัด ป.5/1, ป.5/2
มาตรฐาน  1.2  เข้าใจอธิบายผลที่เกิดจากการบวก  การลบ  การคูณ  การหาร  การยกกำลัง  และการหารากของจำนวนเต็มและจำนวนตรรกยะ  พร้อมทั้งบอกความสัมพันธ์ของการดำเนินการของจำนวนต่างๆได้ : ตัวชี้วัด ป.5/1, ป.5/2, และ ป.5/3
มาตรฐาน  6.1 มีความสามารถในการแก้ปัญหา  การให้เหตุผล  การสื่อสาร  การสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์ และการนำเสนอ การเชื่อมโยงความรู้ต่าง ๆ ทางคณิตศาสตร์และเชื่อมโยงคณิตศาสตร์กับศาสตร์อื่น ๆ และมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ : ตัวชี้วัด ป.5/1, ป.5/2, ป.5/3, ป.5/4, ป.5/5, และ ป.5/6
.........................................
Week
Input
Process
Output
Outcome



9
โจทย์
จำนวนและการดำเนินการ7 (เศษส่วน)
- การหารเศษส่วนด้วยจำนวนเต็ม
- การหารเศษส่วนด้วยเศษส่วน (ส่วนเท่ากัน)
Key  Questions
นักเรียนคิดว่า มีอยู่ 2/5 แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มละเท่าๆกันจะได้กลุ่มละเท่าไรไร?และ ใน 5/2 มี 1/2 อยู่เท่าไร?
เครื่องมือคิด
- Blackboards share
- Brainstorm
- Show and Share
- Wall thinking
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
นักเรียน/ครู
สื่อและแหล่งเรียนรู้
- ชุดแท่งเศษส่วน
- ชาร์ตตัวอย่างการดำเนินการเศษส่วน
- ครูพานักเรียนเดินสำรวจรอบบริเวณตึกประถม เพื่อตรวจสอบรูปร่าง / ขนาด เพื่อใช้ในการ
เปรียบเทียบสร้างกิจกรรมเกมการคิดร่วมกัน และร่วมแลกเปลี่ยนความเข้าใจ 
*ครูและนักเรียนร่วมกันแลกเปลี่ยนความเข้าใจ ก่อนที่ครูจะรีเช็คความเข้าใจผู้เรียน จากกิจกรรมการเรียนรู้สัปดาห์ผ่านมา
ครูกระตุ้นด้วยโจทย์
- นักเรียนแลกเปลี่ยนแสดงความคิดเห็นร่วมกันเพื่อสร้างความเข้าใจที่หลากหลาย
- ปรึกษาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกัน เพื่อตรวจสอบความเข้าใจในการเรียนรู้
- นักเรียนนำเสนอชิ้นงานความเข้าใจที่มำมา พร้อมครูใช้คำถามแลกเปลี่ยนตรวจสอบเข้าใจของผู้เรียน

ครูกระตุ้นด้วยโจทย์


- นักเรียนแลกเปลี่ยนแสดงความคิดเห็นร่วมกันเพื่อสร้างความเข้าใจที่หลากหลาย
- นักเรียนทำการ์ตูนช่องเศษส่วน ที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กับชีวิตประจำวัน
*Flip classroom ครูให้เด็กๆ แต่ละคนไปทบทวนความเข้าใจเศษส่วนที่เรียนมาทั้งหมด
ภาระงาน
- เดินสำรวจ / สร้างเกมการคิด
- นักเรียนช่วยกันคิดการหารเศษส่วน
- นักเรียนทำการ์ตูนช่องความรู้เกี่ยวกับเศษส่วน

ชิ้นงาน
- การ์ตูนช่องชุดความรู้เศษส่วน
- ใบงานเกี่ยวกับโจทย์การหารเศษส่วน (ส่วนเท่ากัน)
ความรู้
นักเรียนเข้าใจและสามารถอธิบายได้เกี่ยวกับการหารเศษส่วน ทั้ง 2 กรณี(จำนวนเต็ม / เศษส่วน) และสร้างโจทย์ที่ซับซ้อนขึ้นมาเองได้ พร้อมทั้งยังนำความรู้ไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้
ทักษะ
- ทักษะการแก้ปัญหา
- ทักษะการคิด(วิเคราะห์/สร้างสรรค์)
- ทักษะการสร้างโมเดลจำลอง(เศษส่วน)
- ทักษะการเห็นแบบรูปที่ซ่อนอยู่
- ทักษะการสื่อสาร
- ทักษะการเรียนรู้ร่วมกับผู้อื่น
คุณลักษณะ
-  มีความคิดสร้างสรรค์และนำเสนอสิ่งที่ได้เรียนรู้ด้วยวิธีการที่น่าสนใจ
 - รู้เคารพ มีวินัยและความรับผิดชอบ
- มีความมุ่งมั่นในการทำงาน
- การเคารพและยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
มาตรฐาน  1.1  เข้าใจถึงความหลากหลายของการแสดงจำนวนและการใช้จำนวนในชีวิตจริง : ตัวชี้วัด ป.5/1, ป.5/2
มาตรฐาน  1.2  เข้าใจอธิบายผลที่เกิดจากการบวก  การลบ  การคูณ  การหาร  การยกกำลัง  และการหารากของจำนวนเต็มและจำนวนตรรกยะ  พร้อมทั้งบอกความสัมพันธ์ของการดำเนินการของจำนวนต่างๆได้ : ตัวชี้วัด ป.5/1, ป.5/2, และ ป.5/3
มาตรฐาน  6.1 มีความสามารถในการแก้ปัญหา  การให้เหตุผล  การสื่อสาร  การสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์ และการนำเสนอ การเชื่อมโยงความรู้ต่าง ๆ ทางคณิตศาสตร์และเชื่อมโยงคณิตศาสตร์กับศาสตร์อื่น ๆ และมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ : ตัวชี้วัด ป.5/1, ป.5/2, ป.5/3, ป.5/4, ป.5/5, และ ป.5/6
.......................................
Week
Input
Process
Output
Outcome



10
โจทย์
จำนวนและการดำเนินการ8 (เศษส่วน) - การหารเศษส่วนด้วยเศษส่วน (ส่วนไม่เท่ากัน)
Key  Question
นักเรียนคิดว่าใน 1/2  มี 1/3 อยู่เท่าไร?
ข นักเรียนได้เรียนรู้อะไรบ้างตลอด Q1/59 นี้ และเรื่องใดที่ที่นักเรียนทำได้ีหรือเรื่องไหนที่อย่างเพิ่มเติม?
เครื่องมือคิด
- Blackboards share
- Show and Share
- Wall thinking
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
นักเรียน/ครู
สื่อและแหล่งเรียนรู้
- ชุดแท่งเศษส่วน
- power point เศษส่วนที่เป็นโจทย์ปัญหาและขมวดความเข้าใจเศษส่วนให้นักเรียน
- ครูพานักเรียนแต่งเรื่องเพื่อนำมาแสดงเป็ยบทละคร / วางแผน / ฝึกซ้อม / นำเสนอ
และร่วมแลกเปลี่ยนสิ่งที่ได้เรียนรู้จากกิจกรรม
*ครูและนักเรียนร่วมกันแลกเปลี่ยนความเข้าใจ ก่อนที่ครูจะรีเช็คความเข้าใจผู้เรียน จากกิจกรรมการเรียนรู้สัปดาห์ผ่านมา
ครูกระตุ้นด้วยโจทย์
- ปรึกษาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกัน เพื่อตรวจสอบความเข้าใจในการเรียนรู้
- นักเรียนนำเสนอชิ้นงานความเข้าใจที่มำมา พร้อมครูใช้คำถามแลกเปลี่ยนตรวจสอบเข้าใจของผู้เรียน
- นักเรียนปรึกษา และแลกเปลี่ยนความเข้าใจซึ่งกันและกัน
- นักเรียนทำใบงานการดำเนินการของเศษส่วน (การหารเศษส่วนด้วยเศษส่วน (ส่วนไม่เท่ากัน))
*นักเรียนสรุป(หลังเรียน)ตลอด Quarter 1/2559
ภาระงาน
- ทบทวนองค์ความรู้ที่เรียนตลอดQ1/59
- นักเรียนช่วยกันคิดโจทย์เศษส่วน
- ร่วมแสดงความคิดเห็น / ตรวจสอบคำตอบ
- นักเรียนทำสรุปองค์ความรู้เกี่ยวกับสิ่งที่เรียนมาตลอด Q1/59

ชิ้นงาน
- สมุดจดบันทึกบันทึกความเข้าใจตลอดการเรียนรู้ใน Q1/59
- สรุปความเข้าใจ(หลังเรียน)การเรียนรู้ใน Q1/59
ความรู้
นักเรียนสามารถอธิบายเกี่ยวกับการดำเนินการเศษ และเข้าใจถึงความเชื่อมโยงของเศษส่วนกับทศนิยม และเศษส่วนกับร้อยละ นำองค์ความรู้ไปรับใช้กับชีวิตประจำวันได้
ทักษะ
- ทักษะการแก้ปัญหา
- ทักษะการคิด(วิเคราะห์/สร้างสรรค์)
- ทักษะการสื่อสาร
- ทักษะการเรียนรู้ร่วมกับผู้อื่น
คุณลักษณะ
-  มีความคิดสร้างสรรค์และนำเสนอสิ่งที่ได้เรียนรู้ด้วยวิธีการที่น่าสนใจ
 - รู้เคารพ มีวินัยและความรับผิดชอบ
- มีความมุ่งมั่นในการทำงาน
- การเคารพและยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
มาตรฐาน  1.1  เข้าใจถึงความหลากหลายของการแสดงจำนวนและการใช้จำนวนในชีวิตจริง : ตัวชี้วัด ป.5/1, ป.5/2
มาตรฐาน  1.2  เข้าใจอธิบายผลที่เกิดจากการบวก  การลบ  การคูณ  การหาร  การยกกำลัง  และการหารากของจำนวนเต็มและจำนวนตรรกยะ  พร้อมทั้งบอกความสัมพันธ์ของการดำเนินการของจำนวนต่างๆได้ : ตัวชี้วัด ป.5/1, ป.5/2, และ ป.5/3
มาตรฐาน  6.1 มีความสามารถในการแก้ปัญหา  การให้เหตุผล  การสื่อสาร  การสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์ และการนำเสนอ การเชื่อมโยงความรู้ต่าง ๆ ทางคณิตศาสตร์และเชื่อมโยงคณิตศาสตร์กับศาสตร์อื่น ๆ และมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ : ตัวชี้วัด ป.5/1, ป.5/2, ป.5/3, ป.5/4, ป.5/5, และ ป.5/6
...........................................

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น